วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สบู่ดำ

๒๕๔๙ วิกฤตพลังงาน
ความที่ข้าพเจ้าไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง จึงมีเวลาแส่ไปสอดรู้สอดเห็นเรื่องที่อยากรู้ อีกทั้งอาศัยว่าพอมีความรู้ด้านการผลิตสื่อเพื่อการนำเสนอบ้าง เพื่อนผองน้องพี่ในแวดวงนักพัฒนาก็หยิบยื่นงานให้ทำพอมีรายได้ประคองตัว
ข้าพเจ้าจึงมีโอกาสได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพลังงาน โดยเฉพาะแนวทางการใช้พลังงานจากธรรมชาติเมื่อปี ๒๕๔๔ ก็ได้มีโอกาสไปเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตแก๊สหุงต้มจากขี้หมูของเกษตรกรรายหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งใช้ผลเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ก็ยังไปเรียนรู้เรื่องการเผาถ่านแบบใช้ถังน้ำมัน ๒๐๐ ลิตร โดยใช้เศษไม้หรือกิ่งไม้ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งนั่นแหละมาเผา ซึ่งมีกรรมวิธีไม่ยุ่งยากซับซ้อน เมื่อปีที่แล้วหน่วยงานราชการของจังหวัดสุรินทร์ได้จัดอบรมให้กับข้าราชการในหลายสังกัด จำนวนหลายร้อยคน
เอาไว้จะมาเล่าให้ฟังในคราวต่อไปก็แล้วกัน
ครั้งนี้ขอมาเล่าเรื่องสำคัญๆ ที่เผอิญมีโอกาสได้ไปเรียนรู้ และถือว่าเป็นเรื่องระดับชาติจนถึงระดับโลกและจักรวาลก็ว่าได้ นั่นก็คือ เรื่องของพลังงานน้ำมัน
เป็นที่ทราบกันดีว่า วันนี้ประชาชนคนไทยและคนอีกเกือบทั้งโลก เป็นเดือดเป็นร้อนกับเรื่องราคาน้ำมันที่สูงจนฉุดเศรษฐกิจในครัวเรือนให้ทรุด เราๆ ท่านๆ ต้องรัดเข็มขัดจนเอวแทบขาดแล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ช่วยอะไรได้มากนัก
จนกลายเป็นความชาชิน
มิหนำซ้ำ ความวุ่นวายทางการเมืองทั้งไทยและเทศ ก็แทบจะนำพาโลกไปสู่หายนะเร็วขึ้น
แท้จริงแล้วประเทศไทย ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องพลังงาน เพราะว่าเรามีทรัพยากรธรรมชาติเหลือเฟือ ถ้าใช้มันอย่างถูกต้องและถูกวิธี เรามีแสงแดดเฉลี่ย ๖-๗ ชั่วโมงต่อวันมาตั้งแต่ประเทศไทยยังไม่เป็นประเทศไทย แต่เราก็ไม่เคยคิดจะนำมันมาใช้อย่างจริงจัง
น่าแปลกที่เรามีนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกหลายคน แต่หลายคนนั้น ทำไมไม่เคยคิดที่จะสร้างพลังงานแสงแดดอย่างจริงๆ จังๆ
เรากลับได้เห็นประเทศแถบยุโรปที่ในแต่ละปี แสงแดดน้อยกว่าบ้านเรามาก แต่เขากลับมุ่งมั่นเพื่อจะนำแสงแดดมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน
ว่ากันว่า อีก ๑๐๐ หรือ ๒๐๐ ปี พลังงานฟอสซิล (น้ำมันใต้ดิน) อาจจะหมดไปจากโลกนี้ ทั้งนี้พลังงานประเภทนี้ใช้หมดแล้วหมดเลยและกว่าจะเกิดขึ้นอีกก็ต้องใช้เวลาหลายล้านปี
ในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนามาถึงขีดสุด มนุษย์ใช้พลังงานฟอสซิลกันอย่างฟุ่มเฟือย และที่มากที่สุดและไม่เกิดประโยชน์ใดๆ แก่มวลมนุษยชาติเลยก็คือ การใช้พลังงานฟอสซิลเพื่อการสงครามและการทหาร
ในแต่ละปีีเคยมีผู้สรุปว่า มนุษย์ที่มีประโยชน์ต่อโลกน้อยกว่าควายใช้เงินและน้ำมันเพื่อการทำสงคราม มากกว่าการให้การศึกษาและเพื่อมนุษยธรรมถึง ๓ เท่า
เหตุผลหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาบุกยึดอิรัก เป็นเหตุให้น้ำมันแพงขึ้นๆ ก็คือเรื่องน้ำมันนี่แหละ ทำให้ประเทศเล็กอย่างไทย พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย และพันกันเป็นอีรุงตุงนังมากระทั่งวันนี้
มีความพยายามที่จะหาแหล่งทดแทนพลังงานฟอสซิล เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันของคนไทย และก็มีหลายหน่วยงานที่ช่วยกันหาทางออก
และทางออกหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือ การใช้พลังงานจากพืช และพืชที่ผมจะนำมาบอกกล่าวเล่าสู่ก็คือสบู่ดำ โดยน้ำมันที่สกัดได้จากสบู่ดำนั้นจะนำมาทดแทนน้ำมันดีเซลเป็นหลัก
คำว่า สบู่ มาจากภาษาโปรตุเกส เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาปลูกเป็นรั้วบ้าน มียางสีขาว สมัยเด็กๆ ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ มักนำยางของมันมาเป่าเป็นลูกโป่งเล็กๆ โดยที่ไม่เคยรู้เลยว่าเมล็ดของมันสามารถนำมา สกัดเ็ป็นน้ำมันได้
เหตุที่เรียกว่า "สบู่ดำ" ก็เพราะว่าเมล็ดของมันมีสีดำ คนอีสานเรียกต้นสบู่ดำว่า "บักเยา" หรือ "มะเยา"บางแห่งก็เรียก "สีหลอด" ส่วนภาคเหนือเรียก "ละหุ่งฮั้ว" คนทางปักษ์ใต้เรียก "หงเทศ"
สบู่ดำ เป็นไม้ยืนต้น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha curcas Linn. ส่วนชื่อภาษาอังกฤษคือPurging Nut หรือ Physic Nut
ลำต้นและยอดมีลักษณะคล้ายละหุ่ง ไม่มีขน เป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีแก่น ใบคล้ายใบฝ้าย แต่หนากว่า ออกดอกเป็นช่อพวงที่ข้อ ผลกลมรีเล็กน้อย เมื่อดิบสีเขียวอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแ่ก่
อายุเฉลี่ยโดยทั่วไปราว ๕๐ ปี ความสูงตั้งแต่ ๒-๗ เมตร
ข้าพเจ้าไม่ขอเอ่ยถึงลักษณะทางวิชาการของสบู่ดำให้มากนัก แต่จะขอกล่าวถึงความเป็นไปได้หากเราได้พัฒนาและส่งเสริมกันอย่างจริงๆ จังๆ ข้าพเจ้าเชื่อว่าประเทศไทยสามารถผ่านวิกฤติน้ำมันไปได้ไม่ยากนัก

เคื่องมือการสกัดสบู่ดำ



สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนา เครื่องหีบ น้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำสำหรับเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาการสร้างเครื่องจักรผลิตน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำด้วยวิธีวิศวกรรมย้อนรอย ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ : MTEC และ สมาคมเครื่องจักรกลไทย ทั้งนี้ โครงการ ฯ ได้ดำเนินการศึกษาพัฒนา เพื่อสร้าง เครื่องหีบน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำ 3 ขนาด ได้แก่
1) เครื่องขนาดกำลังการผลิต 5-10 กิโลกรัมเมล็ด/ชั่วโมง พัฒนาโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2) เครื่องขนาดกำลังการผลิต 10-15 กิโลกรัมเมล็ด/ชั่วโมง พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ : MTEC
3) เครื่องขนาดกำลังการผลิต 100-200 กิโลกรัมเมล็ด/ชั่วโมง พัฒนาโดย สมาคมเครื่องจักรกลไทย


ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ได้ดำเนินการศึกษาพัฒนาเครื่องหีบน้ำมัน ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งแต่ละขนาดจะมีความเหมาะสมต่อการใช้งานตามความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ โครงการ ฯ ดังกล่าวถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการบูรณาการความคิด ร่วมกับ นักวิชาการ และผู้ประกอบการคนไทย ในการคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยและประเทศชาติ จนสามารถสร้างเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน ขนาดย่อม ไปจนถึงอุตสาหกรรมระดับประเทศได้ในอนาคต
ในวันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอเครื่องหีบน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำ ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ดังกล่าวแล้วข้างต้น ทั้งนี้ ผู้ดำเนินโครงการได้ใช้เวลาประมาณ 2 เดือนในการพัฒนาเครื่องจักร ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานในระดับวิสาหกิจชุมชน โดยมีรายละเอียดคุณสมบัติโดยสังเขป ดังนี้


วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การปลูกผักผสมผสาน

1. ผมจะปลูกผักโดยใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์คือจะปลูกผักหลายชนิดให้อยู่ในพื้นที่ของบ้านเรา
2. เราต้องดูแลผักที่ปลูกไว้ไม่ให้มีแมลงที่จะมาทำหลาย
ผักเราและรดน้ำเป็นประจำทุกวัน
3. ต้องดูแลทำความสะอาดในแปลงผักเป็นประจำ
4. ถ้าต้นกล้าโตพอเราก็แยกปลูกลงในแปลงผักที่เราทำไว้
ก่อนหน้านี้
5. เราก็ใสปุ๋ยคอกซึ้งไม่ต้องใช่ปุ๋ยเคมีที่มีราค่าแพงมาก
6. ถ้าผักเราได้เวลาเก็บผลผลิตเราก็สามารถนำไปจำน่ายได้และสามารถเก็บไว้รับประทาน

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ด.ช.กานต์ น้อยเสงี่ยม ม 2/4เลขที่ 17

เกิดวันที่ 21 มกราคม 2537 อยุ 13 ปี เป็นคนที่ใจร้อนไม่ขอ้ยเอาใสในการเรียน

แต่ผมก็ชอบการเกษตรมากคนหนึ่งเพราะตาผมก็เป็นเกษตรตกอนผมก็อยากเป็นแบบตาครับ

ประวัติของ ด.ช.กานต์ น้อยเสงี่ยม

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

การปลูกบอนไซ

การปลูกบอนไซ
ชมรมบอนไซ จังหวัดเชียงใหม่ สาธิตการปลูก การดัด และตกแต่งบอนไซ ณ อาคารนิทรรศการหมุนเวียน ในงานนิทรรศการสัปดาห์ไม้ใบกระถาง โดยมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเข้าชมอย่างมาก
อาจารย์ นวเรศร์ เขื่อนแก้ว ประธานชมรมบอนไซจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การปลูกบอนไซต้องดูรูปแบบของไม้ธรรมชาติที่จะนำมาปลูก โดยไม้ที่จะนำมาทำเป็นบอนไซนั้นจะต้องเป็นไม้ที่เป็นแก่น ไม้เนื้อแข็งและอายุยืน อาทิ มะขาม ตะโก ตะแบก ต้นข่อย และอื่นๆ ส่วนการนำไม้มาลงกระถางนั้นจะต้องเลือกกระถางให้เหมาะสมกับต้นไม้ คือขนาดของกระถางกับลำต้นของไม้ควรจะพอ ๆกัน เช่น หากกระถางสูง 3 นิ้ว ลำต้นของไม้ก็ควรจะเท่ากัน และเวลาที่นำไม้ลงวางในกระถางควรจะอยู่ในช่วง 2 ใน 3 ของกระถาง ไม่เหมือนกับการปลูกไม้ทั่วไปที่อยู่ตรงกลาง พร้อมใส่ดิน มูลวัว มูลไก่ อิฐมอญทุบ ให้ได้สัดส่วนพอดีกับขนาดกระถาง
ส่วนเทคนิคการดัดบอนไซนั้นจะดัดเมื่อระยะหนึ่งกิ่งไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ ซึ่งปกติกิ่งของบอนไซจะมีกิ่งหน้า กิ่งหลัง ซ้าย ขวาและวนไปสู่ยอด หากว่ากิ่งขึ้นมาแล้วเอนไปไม่เหมาะสมก็ต้องดัดกิ่งโดยใช้ลวด ซึ่งก่อนที่จะดัดบอนไซจะต้องอดน้ำเพื่อให้ ไม้เหี่ยวจะได้ไม่เปลาะและเล็ดใบทุกครั้งเพื่อสะดวกต่อการพันลวด ไม่ให้ลวดไปโดนตาของกิ่งและลวดที่นำมาดัดก็ต้องให้เหมาะกับขนาดของกิ่ง สำหรับผู้ที่อยากจะปลูกบอนไซนั้นอยากให้มองว่าบอนไซเป็นไม้ที่ทุกคนสามารถปลูกได้ อย่ามองเพียงว่าเป็นของคนที่มีเงินเท่านั้นเพราะบอนไซที่ราคาสูงๆ นั้นต้องใช้ระยะเวลา หากคิดจะเริ่มต้นปลูกบอนไซไม่จำเป็นต้องซื้อไม้ราคาแพง นอกจากนี้ยังเป็นการพักผ่อนที่ดีใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และทำเป็นอาชีพได้ด้วย

การเพาะถัวงอก


การเพาะถั่วงอก
ถั่วงอกเป็นอาหารคู่ครัวของคนไทย เช่น เป็นเครื่องเคียง ก๋วยเตี๋ยว น้ำ, แห้ง, ผัดไทย, ขนมจีนน้ำยา, หอยทอด, ข้าวยำปักษ์ใต้ ฯลฯ คนไทยมีวิธีเพาะถั่วงอกหลายวิธี เช่น การใส่โอ่ง หมกทราย หมกขี้เถ้าแกลบ ใส่ปี๊ป และอีกสารพัด แต่ละวิธีก็ได้ถั่วงอกออกมาลักษณะที่แตกต่างกัน สั้นบ้าง ยาวบ้าง ผอมบ้าง หรืออวบอัด แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป บางท่านคงเคยนึกรังเกียจรากที่รุงรังของถั่วงอก ต้องเสียเวลาเด็ดทิ้ง หรือตามภัตตาคารต่างๆ เวลาจะนำมาประกอบอาหารก็ต้องเด็ดรากทิ้ง เพื่อความสวยงาม แต่วันนี้ขอนำเสนอ วิธี เพาะถั่วงอก โดยใช้อุปกรณ์ในการเพาะที่ง่ายที่สุด ถั่วงอกอวบอ้วน เก็บไว้ได้นานโดยใช้จุลินทรีย์ EM
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมในการเพาะถั่วงอก
1. ขวดพลาสติกขวดน้ำหรือขวดโค๊ก เปล่าๆ
2. เจาะรูที่ก้นขวด 1 รู
3. เมล็ดถั่วเขียวไม่อบ
4. นมสด และ EM
5. ถาดรองขวด
6. กระดาษห่อขวด
วิธีทำ
1. นำถั่วเขียวแช่น้ำร้อน 20-30 นาที
2. หลังจากถั่วเขียวที่แช่ไว้เย็นแล้ว รินน้ำออกใส่น้ำสะอาดลงไปและผสม EM 1-2 ฝา แล้วแช่ทิ้งไว้ 3 ชม.
3. แล้วนำถั่วเขียวที่แช่ไว้บรรจุขวดพลาสติกปริมาตร 1/5 ของขวดที่เราใช้เป็นภาชนะเพาะ
4. วางขวดลงบนภาชนะหรือถาดรอง
5. ขวดห่อด้วยหนังสือพิมพ์ไม่ให้แสงเข้า ซุกไว้ในที่มืด
6. นำ EM 2 ฝา ผสมนมสด 2 ฝา ต่อน้ำสะอาด 1 บัว แล้วคนให้เข้ากัน
7. นำไปใส่ขวดที่มีถั่วเขียวบรรจุอยู่ทุกๆ 4 ชม.
8. น้ำที่ลงมาถาดรองก็นำมาใช้ได้อีก 2 ครั้ง จึงผสมใหม่
9. ประมาณ 2-3 วัน ถั่วเขียวก็จะเจริญเติบโตอวบอ้วนขาวฟูเต็มขวด ก่อนนำไปประกอบอาหารก็ตัดขวด นำถั่วงอกไปผัด

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

การปลูกกระเจียว

การปลูกดอกกระเจียว
กรเจียวเป็นพืชหัวล้มลุกขยายพันธุ์ด้วยเหง้าใต้ดินเป็นพืชในวงศ์Zingiberaceaegเช่นเดียวกับขิงและขากระจายพันธุ์อยู่ทั่วประเทศในเขตป่าร้อนชื้นในธรรมชาติทั่วไปเนื่องจากเป็นพืชที่มีดอกสีสวยงามจึงมีผู้นิยมนำมาปลูกเป็นไม้กระถางและไม้ตัดดอกเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเหง้าพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกคือพันธุ์(Curcuma alismatifolia)พันธุ์บัวลาย(Curcuma parcuma parviflora(violet))และพันธุ์กระเจียวสีส้ม(Curcuma roscoena(orange))การปลูก กระเจียวเพื่อการค้าในแปลงใหญ่จะมีปัญหาวัชพืชมากทำให้ปริมาณดอกและเหง้าใต้ดินลดลงเหง้ามีขนาดเล็กและมีรากสะสมอาหารน้อยไม่ได้มาตรฐานที่ตลาดต้องการวัชพืชในแปลงปลูกกระเจียวที่สำคัญคือ